ภาพถ่าย

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เกร็ดความรู้เรื่องดวงตา


เกร็ดความรู้เรื่องดวงตา (womanplus)

          รู้หรือไม่ว่าผิวที่มีอาการแพ้ระคายเคือง บวมแดง และมีริ้วรอยที่เกิดขึ้นจาก  "ธาตุไฟไม่สมดุล" สามารถเกิดขึ้นเช่นกันกับผิวละเอียดอ่อนบริเวณรอบดวงตา อาการธาตุไฟไม่สมดุลนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ง่าย โดยอากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา รวมทั้งปัจจัยความเครียด และความเหนื่อยล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสำคัญ อาการจะแสดงออกมาในรูปแบบของความหมองคล้ำ บวมแดงอย่างเห็นได้ชัดกว่าบริเวณอื่นๆ 

          ทั้งนี้เพราะผิวบริเวณรอบดวงตานั้นมีความละเอียดอ่อน และบอบบางมากกว่าผิวในบริเวณอื่นๆ และยังเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทและเซลล์ต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ที่ไวต่อการร่วงโรยและถูกทำร้ายได้ง่าย และคุณรู้อีกหรือไม่ว่า คุณเองอาจจะทำร้ายผิวบริเวณรอบดวงตาให้ช้ำ หมองคล้ำมากขึ้น เพราะการทำความสะอาดผิวหรือเมคอัพรอบดวงตาก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำร้ายผิวแสนบอบบาง

          เคล็ดลับคงความอ่อนเยาว์ของดวงตาจาก ดร.แอนดรูว์ ไวล์          เข้ารับการตรวจตาเป็นประจำทุกๆ 2-4 ปี และทุกๆ 1-2 ปี สำหรับอายุ 65 ปีขึ้นไปสำหรับผู้ที่ต้องจ้องหน้าคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เริ่มฝึกนิสัยในการพักสายตาโดยการมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 10-15 นาที สวมใส่แว่นตาดำที่สามารถปกป้อง และกรองแสงยูวี ทุกๆ ครั้งที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งปกป้องและระวังไม่ให้ดวงตาสัมผัสควัน และฝุ่นละอองต่างๆ โดยตรง

          อาหารเสริมเพื่อดวงตาสดใส
          บริโภคผัก ผลไม้ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (anti oxidant) ในปริมาณสูง
          เช่น ผิวบิลเบอร์รี่ ผักใบเขียว และแครอท ช่วยลดอันตรายจากอนุมูลอิสระในแสงแดดที่ทำลายจอตา และช่วยลดปัญหาตาบอดจากจอประสาทตาเสื่อมได้ พร้องทั้งช่วยให้สายตาทำงานดีขึ้นในที่มืดและมีความไวในที่มีแสงน้อยๆ ดีกว่า

          บริโภคผัก ผลไม้ ที่มาสรลูทีน (Lutien) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)
          เป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งมีสีเหลือง พบมากในพืชผักที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม ที่สามารถพบได้ในผลอโวคาโด บล็อกโคลี่ ข้าวโพด ฟักทอง ผักโขม และผักกวางตุ้ง เป็นสารธรรมชาติที่พบมากในตาบริเวณจุดรับภาพและจอประสาทตาทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดด ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการต้านอนุมูลอิสระที่ทำลายดวงตา และกรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา

ต้นไม้...ดอกไม้...ประจำชาติไทย

จากอดีตที่ผ่านมากว่า 50 ปี ทางราชการมีความพยายามหลายครั้งในการกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยเฉพาะการกำหนด ต้นไม้ และ ดอกไม้ ประจำชาติ เริ่มต้นที่กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์หรือคูณมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2494 โดยรัฐบาลมีมติให้ถือวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ (arbour day) มีการชักชวนให้ปลูกต้นไม้ที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเสนอว่า ต้นราชพฤกษ์ น่าจะถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ
กระทั่งในปี พ.ศ.2506 มีการประชุมเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ต้นไม้และสัตว์ประจำชาติเป็นครั้งแรก โดยกรมป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ ไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ สำหรับสัตว์ประจำชาติก็คือ ช้างเผือก สัตว์ที่มีคุณค่าเกี่ยวข้องกับประเพณีไทยและประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน การเสนอครั้งนั้นไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงมีหลากหลาย ตั้งแต่สถานที่สำคัญๆ สัตว์ ดอกไม้ ที่คนไทยคุ้นเคยและพบเห็นบ่อย เช่น พระปรางค์วัดอรุณฯ เรือสุพรรณหงส์ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกพุทธรักษา แมวไทย เช่นเดียวกับ ต้นราชพฤกษ์ และ ช้างเผือก ยังคงถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติตลอดมา
ปี พ.ศ.2530 มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์อีกครั้ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศจำนวน 99,999 ต้น ทุกวันนี้จึงมีต้นราชพฤกษ์อยู่มากมายทั่วประเทศไทย
ข้อสรุปเรื่องสัญลักษณ์ประจำชาติดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจน กระทั่งช่วงปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาเสนออีกครั้ง และมีข้อสรุปเสนอให้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่งคือ ดอกไม้ สัตว์และสถาปัตยกรรม และการพิจารณาที่ผ่านมาเสนอให้กำหนดดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกราชพฤกษ์ สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย และสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ ศาลาไทย
เหตุที่เลือก ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติเพราะมีความเหมาะสมในหลายๆ ด้าน คือ เป็นดอกไม้จากต้นไม้ที่ถูกเสนอให้เป็นต้นไม้ประจำชาติเมื่อครั้งที่กรมป่าไม้เสนอไว้ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ทนทาน ปลูกขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อต่างกันในแต่ละภาค เช่น ลมแล้ง คูน อ้อดิบ ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลใช้ประโยชน์ในพิธีสำคัญๆ เช่น ลงหลักเมือง ลงเสาเอก ทำคฑาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ในช่วงฤดูร้อนราชพฤกษ์จะออกดอกสะพรั่งทั้งต้น ช่อดอกมีรูปทรงสวยงาม สีเหลืองอร่ามเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ รวมทั้งเป็นสีเดียวกับวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นอกจากนี้ความงามของช่อดอก และความหมายที่ดียังถูกจำลองแบบประดับไว้บนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือนอีกด้วย

ผัก/ผลไม้ 10 ชนิดที่ให้วิตามิน C มากกว่าส้ม และหากินได้ง่ายในเมืองไทย

"กินส้มเยอะๆสิ จะได้วิตามินซีเยอะๆ"

เป็นคำพูดที่ได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งจริงๆแล้วอาจจะเพราะรสชาติที่อร่อย หาทานง่าย ราคาถูกและสีสันสวยงาม เลยน่าจะทำให้เด็กๆทานได้ง่ายและในปริมาณมากกว่าผลไม้อื่นๆ

ซึ่งจริงๆแล้ว เพราะเคยได้ยินมาบ่อยๆๆๆ ว่า "ส้มจริงๆให้วิตามินซีน้อยกว่าฝรั่งอีก" แล้วด้วยอยากกินอะไรน้อยๆแต่ได้ปริมาณมากๆ (อนึ่ง คือ ขี้เกียจ) เลยลองหาข้อมูลดูครับ

จึงได้พบว่า...มีผลไม้ที่มีขายในเมืองไทยหลายชนิด ที่มีวิตามินซีมากกว่าส้มเสียอีก บางอย่างแทบจะนึกไม่ถึง เช่น พุทรา (Jujube) กลับเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีมากกว่าส้มถึง 10 เท่า!!!*

มาดูกันเลยว่า มีผัก/ผลไม้อะไรบ้างที่ให้วิตามินซีมากกว่าส้มครับ
Chart แสดงปริมาณวิตามินซี (mg) ในผัก/ผลไม้ปริมาณ 100 g
(จริงๆมีผลไม้อีกหลายชนิดที่ให้วิตามินซีในปริมาณสูงมากกว่านี้ แต่มักหาไม่ได้ในเมืองไทย เลยคัดมาแต่เฉพาะหาซื้อได้ในซูเปอร์ครับ)

ประโยชน์ของวิตามินซีกับการต้านแก่

ช่วยปกป้องเซล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับเส้นเอ็น และคอลลาเจนก็มีผลมาจากปริมาณ วิตามินซี ในร่างกายเช่นกัน

วิตามินซี ยังมีฤทธิ์ในการเป็นสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ที่ดี จึงสามารถป้องกันการทำลายเซลจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และมันช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดั้งนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น


เมื่อรู้ดังนี้แล้ว เราไปหาผัก/ผลไม้อื่นๆมาทานแทนส้มบ้างกันดีกว่าครับ