ภาพถ่าย

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


เตือนภัย!  7สิ่งที่ควรหยุดทำใน Facebook



        Facebook สังคมออนไลน์ ที่นับว่ามีอานุภาพอย่างใหญ่หลวงในโลกปัจจุบัน มีกลุ่มเป้าหมายหลากหลายในทุกกลุ่ม การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวก็ทำได้ง่าย โดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของบัญชีทราบ  เป็นผลทำให้ Facebook ของคนจำนวนไม่น้อย ถูกล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว จนก่อให้เกิดความเดือนร้อน  ทั้งภาพพจน์ ชื่อเสียง และภัยใกล้ตัวอื่นๆ ที่คาดไม่ถึง  
หลังจากที่เขียนบทความเกี่ยวกับปัญหาการเล่น Facebook มาแล้ว 2 เรื่อง วันนี้ก็เลยไปหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับภัยของ Facebook มาเตือนเพื่อน ๆ อีกสักเรื่อง ก่อนจะเข้าเนื้อหาที่เข้มข้นในการสร้างธุรกิจต่อไป
บทความนี้ได้เรียบเรียงจาก 7 Things to Stop Doing Now on Facebook by Consumer Reports Magazine Wednesday, May 12, 2010
เป็นคำกล่าวของ Charles Pavelites, ผู้ชำนาญการพิเศษของหน่วยงาน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากอาชญากรรมทางอินเตอร์เนต ว่าอย่าให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวคุณมากนักบน Facebook และที่ Online อื่นๆ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ประเทศ สเปน มีผู้หญิงคนหนึ่งได้โพสต์รูปของเธอ ซึ่งเป็นรูปที่เธอดูดีบน Facebook แน่นอนว่ามีคนขอเธอเป็นเพื่อนมากมาย และเธอก็รับทั้งหมด หนึ่งในนั้น เป็นผู้ชายที่เริ่มขอเจอเธอ และคาดว่าอยากมี sex กับเธอ เธอปฏิเสธเขา แต่เนื่องจากเธอใส่ข้อมูลที่อยู่ , เบอร์โทรศัพท์ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เป็นข้อมูลจริงใน Facebook เขาไปหาเธอตามที่อยู่นั้น และอันตรายก็เกิดขึ้นกับเธอจนถึงขั้นเสียชีวิต

ฉะนั้น  7 สิ่งที่ควร หยุดทำทันทีใน Facebook  คือ

 

1. ใช้รหัส ผ่านแบบง่าย ๆ

หลีกเลี่ยงการใช้ ชื่อธรรมดา หรือคำทั่วไป ที่สามารถหาพบได้ในพจนานุกรม หรือแม้แต่ตัวเลขที่ลงท้ายรหัสผ่านดังกล่าว ควรใช้การผสมระหว่าง ด้านหน้า ด้านหลังตัวอักษร ด้วยตัวเลข หรือสัญลักษณ์ รหัสผ่านควรมีแปดตัวอักษรอย่างน้อย เทคนิคที่ดีอย่างหนึ่งคือ การเพิ่มตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ระหว่างกลางคำผ่าน

2. ระบุวันเดือนปีเกิดในข้อมูลสาธารณะ

โจรภัยทางข้อมูลแบบเบื้องต้น ผู้ไม่หวังดีมักจะใช้ในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวคุณ เพราะมันจะมีประโยชน์อย่างมาก ในการเข้าถึงข้อมูลธนาคารหรือบัตรเครดิต ถ้าคุณได้ระบุวันเกิด ให้กลับไปที่ข้อมูลส่วนตัว เข้าไปแก้ไขข้อมูลส่วนตัว ระบุข้อมูลพื้นฐานคือ ไม่แสดงวันเกิดในข้อมูลส่วนตัว หรือ แสดงเฉพาะวันและเดือนเกิดในหน้าข้อมูลส่วนตัว (การติดต่อสอบถามเกี่ยวกับบัตรเครดิต มักจะต้องตอบข้อมูลเรื่องนี้ด้วย)

3. ตรวจสอบการใช้งานของข้อมูลส่วนตัว

ข้อมูลทั้งหมดใน Facebook คุณ ควรกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงของเพื่อน หรือเพื่อนของเพี่อน หรือตัวคุณเอง เช่น การเข้าชมรูปภาพ วันเกิด ศาสนา และข้อมูลของครอบครัว หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณเอง เช่น ข้อมูลในการติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ สถานที่อยู่ ควรจำกัดสิทธิ์เฉพาะบุคคลหรือกลุ่มที่สามารถจะเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว หรือจัดการบล็อก (ห้าม) บุคคลบางคน หรือไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว

4. ระบุชื่อบุตรหลาน

โดยมีข้อความที่อธิบายห
รือตำบรรยายใต้ภาพประกอบ ใม่ควรระบุชื่อบุตรหลานหรือป้ายกำกับ ( tags) หรือ มีคำอธิบาย/บรรยายรายละเอียดใต้ภาพ และถ้าได้มีคนอื่นหรือเพื่อนคุณทำเช่นว่านั้นก็ขอให้ช่วยแก้ไขหรือลบออก พร้อมกับป้ายกำกับด้วย แต่ถ้าชื่อบุตรหลานของคุณไม่ได้อยู่ใน Facebook แต่ได้มีบางคนได้ระบุข้อมูลดังกล่าวไว้ใน ป้ายกำกับ( tags) หรือ หรือมีคำอธิบาย หรือบรรยายรายละเอียดใต้ภาพ ก็ขอให้เจ้าของข้อมูลดังกล่าวแก้ไข/ลบออกด้วย (เป็นช่อง ทางให้ผู้ไม่หวังดีใช้ข้อมูลดังกล่าว ก่ออาชญากรรมบางเรื่องได้ง่าย เพราะรู้ว่าเป็นลูกหลานของใครมีฐานะการเงินเป็นเช่นไร)

5. การบอกว่า กำลังออกจากบ้าน

เป็นนัยที่สื่อความ หมายว่า ไม่มีใครอยู่ในบ้าน หรือคล้ายเป็นการปิดป้ายว่า “ ไม่อยู่ ” ไว้ที่หน้าบ้านเช่น กัน ให้รอจนคุณกลับถึงบ้านแล้วค่อยบอกถึงการผจญภัยหรือความสนุกสนาน ในการเดินทางหรือการใช้วันหยุดพักผ่อน โดยอาจจะไม่ต้องระบุ วันเดือนปีที่เดินทางก็ได้ หรือระบุวันเดือนปีที่เดินทางให้คลุมเครือไม่ชัดเจน

6. การปล่อยให้ Facebook ค้นหาพบคุณ

เพื่อป้องกันคนแปลกหน้าเข้าถึงหน้าข้อมูลของคุณ ให้ไปที่การค้นหาของ Facebook ข้อมูลส่วนตัว และเลือกเฉพาะเพื่อนเท่านั้นของ Facebook ที่จะค้นพบข้อมูลดังกล่าว และให้มั่นใจว่ากล่องข้อมูลสาธารณะไม่ได้ระบุให้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้

7. อย่าให้เด็กใช้ Facebook โดยไม่ตรวจสอบ ควบคุม

แม้ว่า Facebook จะไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่าสิบสามขวบ หรือยังไม่ถึงเกณฑ์ใช้งาน แต่หลายคนก็ทำการปลอมอายุเข้าไปใช้ได้ ถ้าคุณมีเด็ก หรือวัยรุ่นในความปกครองใช้ Facebook วิธีการที่ดีที่สุดในการตรวจสอบและควบคุม คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มเพี่อนของเขา หรือให้ใช้ email ของคุณแทนในการติดต่อระหว่างบัญชีของเขา เพื่อที่คุณจะได้รับข้อความหรือตรวจสอบการใช้งานของเขา
“เพราะสิ่งที่พวกเขาคิดว่าไม่เป็นไร ไม่มีอะไร กลับกลาย เป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างง่ายดาย”ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กคนหนึ่งมักจะบอกว่า ” แม่กำลัง จะกลับบ้านแล้ว ฉันต้องไปล้างจาน” มักจะบอกทุก ๆ วัน ในเวลาเดิมเสมอ มันเป็นการบอกเวลาที่ชัดเจนมาก เกี่ยวกับการเดินทาง ไปกลับของพ่อแม่ (บอกช่วง เวลาที่ไม่มีผู้ใหญ่อยู่ที่บ้าน คนร้ายอาจกะระยะเวลาก่อกรรมทำชั่วได้ง่ายขึ้น)


ที่มา; http://preeyaporncom.ipage.com/blog/social-network/online-disaster-facebook/
  
ภัยทางอินเทอร์เน็ต

 ภัยทางอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
    1. ภัยที่เกิดกับบุคคล 2. ภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ
               ภัยที่เกิดกับบุคคล
ภัยที่เกิดกับบุคคลมักเกิดจากการหลอกลวง การกลั่นแกล้ง โดยผลที่ได้รับอาจจะทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายเกิดความอาย เสียเงิน จนถึงขั้นเสียชีวิต ดั้งนั้นควรระมัดระวังในการใช้งาน
ตัวอย่างภัยที่เกิดกับบุคคล
    1. การกลั่นแกล้งโดยผ่านทาง Webboard เช่น  นาย ก. มีความเกลียดชังนาย ข. จึงไปเขียนลงบน Webboard โดยกล่าวร้ายกับนาย ข. จึงทำให้นาย ข. เกิดความอับอาย  
    2. การหลอกลวงผ่านทางโฆษณาขายสินค้าด้วยวิธีการประมูล โดยผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลต้องลงทะเบียนสมาชิกของเว็บไซต์ หลังจากนั้นผู้ซื้อจะต้องเสนอราคาซื้อแข่งขันกับผู้ซื้อรายอื่น เมื่อเสร็จสิ้นการประมูลถือว่ามีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประมูลและผู้เสนอขาย ในรายงานพบว่าเป็นการหลอกลวงมีหลายรูปแบบ เช่น ผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้าเพราะไม่มีสินค้าอยู่จริง การปั่นราคาสินค้าสูงกว่าปกติ  3.การชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต มีทั้งฝ่ายผู้ซื้อหลอกลวงผู้ขาย และผู้ขายหลอกลวงผู้ซื้อ เช่น ผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าเมื่อมีการตัดบัตรเครดิต หรือการหลอกขายสินค้าแล้วขอเบอร์บัตรเครดิต และรหัสแล้วนำไปทำบัตรปลอมเพื่อซื้อสินค้าอีกต่อ  4. การล่อลวงไปกระทำมิดีมิร้ายกับผู้หญิง เช่นล่วงละเมิดทางเพศ ดังที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ส่วนมากจะมาในรูปแบบของการใช้งานโปรแกรม Chartroom ต่างๆ 5. เด็กที่เข้าเว็บที่มีการเสนอในทางรุ่นแรงอาจทำให้เด็กมีนิสัยชอบความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ
    1. การปล่อยโปรแกรม Virus มาทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับ Virus จะเกิดอาการใช้งานไม่ปกติ หรือบางอย่างอาจจะลบข้อมูลทั้งหมด ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มีผู้เขียน เขียนขึ้นมาเพื่อขัดขวางการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้เสมือนว่าใช้งานกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้ จนกระทั่งทำลายแฟ้มข้อมูล หรือทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติไปจากเดิม ส่วนการติดไวรัสอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะทาง Internet นั่นแหละแหล่งรวมไวรัส 2. ใช้วิธีการเข้าควบคุมโมเ ด็มของบุคคลอื่น เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส หลังจากที่เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วไวรัสกำหนดคำสั่งให้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตใหม่อีกครั้ง แต่คราวนี้จะเป็นการเชื่อมโยงไปยังคู่สายที่อยู่เมืองนอก ดังนั้นการเสียค่าโทรศัพท์จะต้องเสียในอัตราโทรต่างประเทศ 3. Trojan Horse เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมทั่วไป  เพื่อหลอกผู้ใช้ให้ทำการเรียกใช้งาน เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้ทันที
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจัน เพื่อที่จะล้วงความลับของระบบคอมพิวเตอร์บุคคลอื่น ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้น
                      การป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต
การป้องกันภัยที่เกิดกับบุคคล
    1. ไม่ควรสนทนา (Chart) กับบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก หรือไว้ใจได้ 2. ไม่ควรใส่ชื่อที่อยู่จริงกับเว็บที่ไม่น่าไว้ใจ 3. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ 4. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนกับเว็บต่างๆ เพราะท่านอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองท่านอยู่   5. จงคิดไว้เสมอว่า ไม่มีใครยอมเสียผลประโยชน์ ถ้าไม่ได้อะไรตอบแทน 6. ทุกครั้งที่คนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำ ธุระกรรมผ่านทางเว็บจงคิดเสมอว่า รายได้ที่สูงเกินความจริงอาจตกอยู่กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย 7. การไปพบปะกับบุคคลที่ติดต่อผ่านทางเว็บไม่ควรไปอยู่ในที่ลับตา ควรอยู่ในที่รโหฐาน 8. ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้ลูกเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง 9. การตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับลูกควรอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง เช่นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน 10. เมื่อเห็นบุคคลที่อยู่ไกล้ตัวท่านมีลักษณะการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปควรรีบเสาะหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อป้องกับเหตุร้ายที่จะตามมา
                      การป้องกันภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์
    1. ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรี ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ ว่ามีไวรัสหรือไม่ โดยใช้โปรแกรมประเภท สแกนไว้รัส 2. ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3. เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น 4. ควรสำรองข้อมูลไว้เพื่อเกิดความเสียหายจะได้มีไฟล์สำรองทุกครั้ง   5. พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ 6. ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect) หรือถ้าจำเป็นต้องเปิด ควรมีการ สแกนไว้รัสก่อนใช้งานทุกครั้ง 7. ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด 8. ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด 9. ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ ๆ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีขึ้นมาก 10. เมื่อมีการติดตั้ง โปรแกรม ป้องกันไวรัสแล้วมิได้จบเพียงแคนั้น ควรจะมีการ Update ไวรัสบ่อยๆ เพราะทุกๆ วันจะมีการสร้างไวรัสใหม่เสมอ 11. หมั่นติดตามข่าวด้าน Information Security และข่าวไวรัสใหม่ๆ ตลอดจนหมั่น Update Patch ให้กับระบบที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ   12. หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ถ้าไม่รู้แหล่งที่มาของ อี-เมล์

ที่มา; http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/page03_2.htm
10 อันดับ มหาวิทยาลัยของไทย
ที่บรรดานักเรียนอยากเข้าศึกษาต่อมากที่สุด

อันดับที่ 10มหาวิทยาลัยบูรพา (โหวต น่ารัก)
ม.บู แตกหน่อมาจาก มศวและพัฒนาไปไกลเกินกว่าจะเป็นแค่วิทยาเขต บูรพาปัจจุบันเปิดสอนในทุกสาขาด้วยที่ตั้งไม่ไกลจากเมืองตากอากาศชายทะเลระดับโลกและการเดินทางที่ไม่ไกลจากรุงเทพฯ ม.บูจึงเป็นที่นิยม 1 ใน 10 ของมหาวิทยาลัยของไทยมหาวิทยาลัยบูรพาจึงได้รับการขนานนามในฐานะ "มหาวิทยาลัยแห่งภาคตะวันออก"
อันดับที่ 9มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โหวต ขำฮาตรึม)
มอ ศูนยืกลางการศึกษาทางทิศทักษิณมหาวิทยาลัยที่เคยมีผลงานวิจัยในระดับเอเชียจนถูกจัดให้อยู่ในมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1 ของไทยในหลายปีก่อน มอในปัจจุบันได้พัฒนาในฐานะ "มหาวิทยาลัยศูนย์กลางแห่งภาคใต้"
อันดับที่ 8มหาวิทยาลัยขอนแก่น (โหวต ซึ้งจัง)
มหาวิทยาลัยดินแดงแห่ง แรกของภาคภาคอิสานกับการเป็นศูนย์กลางของการศึกษาของชาวตะวันออกเฉียงเหนือมหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะ "มหาวิทยาลัยศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"
อันดับที่ 7มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โหวต แป้ก)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดแห่งแรกของไทยและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของทางภาคเหนือด้วย ด้วยบรรยากาศของเมืองท่องเที่ยวระดับโลก มชจึงถูกพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาขั้นสูงของทางภาคเหนือในฐานะ"มหาวิทยาลัยชั้นนำของภาคเหนือ"
อันดับที่ 6มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (โหวต แปลก)
มหาวิทยาลัยที่แตกหน่อวิทยาเขตมากมายจนกลายเป็นมหาวิทยาลัยอีกกว่า 3 แห่ง มศวในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในทุกศาสตร์ ทั้งศิลปะ วิทยาศาสตร์การแพทย์แต่ในส่วนของคณะศึกษาศาสตร์นั้นยังคงเป็นเสาหลักที่สร้างชื่อเสียงให้กับมศว ในฐานะ "มหาวิทยาลัยที่พัฒนาการศึกษาไทย"
อันดับที่ 5มหาวิทยาลัยศิลปากร (โหวต เห็นด้วย)
มหาวิทยาลัยศูนย์กลาง ทางด้านศิลปะของไทยจัดตั้งเป็นลำดับที่ 5 พร้อมเกษตรและมหิดล ศิลปากรไม่ได้โดดเด่นแค่ศิลปะออกแบบ สถาปัตย์ โบราณคดี และดุริยางค์เท่านั้น ด้านภาษาวิทยาศาสตร์และเภสัชก็เป็นอีกสาขาที่มีผลงานโดดเด่นมหาวิทยาลัยศิลปากรในฐานะ "มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติ"
อันดับที่ 4มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โหวต หวาดเสียว)
มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ ที่สุดเป็นลำดับที่ 4ของไทยจัดตั้งพร้อมกับ มหิดลและศิลปากรเกษตรศาสตร์มิได้โดดเด่นในด้านเกษตรสมัยใหม่เท่านั้นแต่ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ยังเป็นที่ยอมรับอีกด้วยเกษตรเคยครองตำแหน่งมหาวิทยาลัยยอดนิยมของไทยมาแล้วหลายสมัยในฐานะ"มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เกษตรและเทคโนโลยีของชาติ"
อันดับที่ 3
มหาวิทยาลัยมหิดล (โหวต ช็อค)
อดีตวิทยาลัยแพทยศาสตร์ แห่งประเทศไทยศูนย์กลางการศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยไทยที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติและการจัดอันดับอยู่ที่ 30ของเอเชียและอยู่ลำดับที่ 1 ของไทย มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะ"มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทย"
อันดับที่ 2
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( โหวต เครียด)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเมืองและการปกครองของไทยมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับที่ 2ของไทยและมีชื่อเสียงในเรื่องกฏหมายและหลักปกครองปัจจุบันเปิดสอนในทุกสาขามธ ในฐานะ "มหาวิทยาลัยการเมืองและประชาธิปไตยของไทย"
อันดับที่ 1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โหวต กล้าเนอะ)
มหาวิทยาลัยแห่งความฝันและเป็นที่หมายปองของนักเรียนมากที่สุดและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยกลางเมืองหลวงของประเทศไทยมีบทบาทในฐานะ"มหาวิทยาลัยแห่งชาติและแห่งแรกของไทย"


ที่มา;  http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1906245
iPad คืออะไร

หลังจากประสบความสำเร็จในการผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่ดังที่สุดในโลกอย่าง iPhone บริษัท แอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์ ก็ได้ดำเนินการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ที่พร้อมจะเขย่าโลก โดยครั้งนี้เป้าหมายไม่ใช่วงการมือถือเหมือนครั้งผลิต iPhone คราวนี้แอปเปิ้ลจะเขย่าวงการคอมพิวเตอร์ด้วย iPad
iPad เปิดตัวอวดโฉมเป็นครั้งแรกที่ ซานฟรานซิสโก ในวันที่ 27 มกราคม 2010 โดยมีนาย สตีฟ จ๊อบส์ ผู้บริหารบริษัทแอปเปิ้ล เป็นคนนำตัว iPad ออกมาให้โลกได้เห็นเป็นครั้งแรก ท่ามกลางบรรดาเหล่าสื่อมวลชนที่แห่กันมาทำข่าวกันคับคั่ง
ipad

เมื่อ iPad เห็นครั้งแรก หลายคนนึกถึง จอคอมพิวเตอร์ บางคนคิดถึงกระจก ใครที่ชอบทางด้าน เทคโนโลยีอยู่แล้ว อาจจะคิดถึง iPhone และ iPod Touch ซึ่งก็ไม่ผิดจากความจริงเท่าไหร่ครับ

แล้ว iPad คืออะไรกันล่ะ?

iPad นั้น พูดให้สั้นที่สุดต้องบอกว่า iPad คือ Tablet PC ครับ
แต่เราจะจำกัดความ iPad ด้วย Tablet PC สั้นๆก็คงไม่ถูกนัก

iPad คือ Tablet PC ?

เรามาเริ่มกันที่ iPad คือ Tablet PC กันก่อนครับ ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ทุกท่านคงรู้จักกันดีนะครับ ตอนนี้เราใช้ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเป็นหลักในการทำงานมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเสียอีก  ทีนี้ถ้าเราเอาโน้ตบุ๊คมาหักครึ่ง เอาเฉพาะส่วนหน้าจอมาใช้งาน เอาคีย์บอร์ดทิ้งไป แล้วเปลี่ยนการพิมพ์บนคีย์บอร์ด มาพิมพ์บนหน้าจโยนเมาส์ทิ้งไป เปลี่ยนมาใช้นิ้วจิ้มบนหน้าจอแทน อะไรจะเกิดขึ้น เราก็จะได้ คอมพิวเตอร์แบบหน้าจอสัมผัสแบบพกพา ที่เราเรียกกันว่า Tablet PC ครับ
โดยพื้นฐานแล้ว Tablet PC ไม่มีอะไรแตกต่างจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คครับ เพียงแต่ไม่มีคีย์บอร์ด ไม่มีเมาส์ เท่านั้นเอง เรายังใช้งานโปรแกรมใน Windows XP , Windows Vista ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเวิร์ด เอ็กเซลล์ การใช้งานอินเตอร์เน็ต สามารถใช้งานได้เหมือนเดิมครับ   iPad เองก็จัดอยู่ในประเภท Tablet PC เช่นเดียวกันนะครับ การใช้งาน iPad จะไม่มีคีย์บอร์ด ไม่มีเมาส์ ทุกอย่างทำบนหน้าจอทั้งสิ้น มีรูปร่างสวยงาม น้ำหนักเบาพกพาได้ง่าย(680 กรัม)
แต่ iPad นั้นมีความแตกต่างจาก Tablet PC ทั่วไปที่เรารู้จักกันครับ เนื่องจากระบบปฏิบัติการของมันนั่นเองครับ


ระบบปฏิบัติการของ iPad


ใช้ตัวเดียวกับที่ใช้ iPhone ครับ เรียกกันว่า iPhone OS โดยมีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อใช้กับอุปกรณ์ขนาดใหญ่อย่าง iPad (ดังนั้น iPad คือ ทายาท iPhone?) เพราะฉะนั้น จุดเด่นที่เคยมีอยู่ใน iPhone ก็จะมีอยู่ใน iPad เกือบครบเลยครับ เรามาดูกัน
ipadiphone

จุดเด่นที่สืบทอดจาก iPhone OS

  • คุณสมบัติด้านบันเทิง การดูหนัง ฟังเพลง สำหรับ iPhone เป็นโทรศัพท์ที่ขึ้นชื่อในด้านการดูหนัง ฟังเพลงอยู่แล้วนะครับ คุณภาพของภาพและเสียงนั้นถ่ายทอดมาจาก สินค้าขึ้นชื่อของแอปเปิ้ลอีกตัวนึงอย่าง iPod ที่ครองแชมป์ในด้านเครื่องเล่น mp3 ที่ดีที่สุดในโลก สำหรับ iPad เมื่อรับความสามารถนี้มา รับรองได้ว่า การดูหนัง ฟังเพลงบน iPad ก็เลยยอดเยี่ยมไม่แพ้พี่ๆครับ
  • การหมุนหน้าจออัตโนมัติ ใน iPad เราจะพบกับหน้าจอที่หมุนเองอัตโนมัติ เวลาที่เราเอียงหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นมุมตั้งสำหรับใช้งานแอพพลิเคชั่น หรือ มุมแนวนอนสำหรับเวลาดูวีดีโอ
  • GPS ใน iPhone เราจะพบว่ามีการนำชิป GPS ที่ใช้ในการระบุตำแหน่งพิกัดละติจูด ลองจิจูดของตัวเองติดมากับเครื่องด้วยครับ และจะมีโปรแกรมสำหรับใช้งานคู่กับ GPS มากมายเลยทีเดียว สำหรับ iPad เองก็เช่นเดียวกัน GPS จะมาพร้อมเครื่องด้วยครับ
  • Multi Touchscreen ถ้าเป็นจอสัมผัสทั่วไป เราใช้ได้เพียงนิ้วเดียวในการจิ้ม แทนการใช้เมาส์ แต่สำหรับ iPad นั้นเราสามารถใช้ นิ้วสองนิ้ว ในการย่อขยายรูป หมุนรูป รวมถึงใช้ซูมเข้า ซูมออกหน้าเว็บไซต์ได้ครับ
  • digital magnetic compass คือความสามารถในการจับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นผล iPad จำลองตัวเองเป็นเข็มทิศได้ครับ
  • accelerometer อันนี้อธิบายลำบากครับ มันคือความสามารถในการจับการเคลื่อนไหวของตัวเครื่องได้ครับว่า ตัวเครื่องเอียงซ้าย เอียงขวา เวลาเล่นเกมส์ขับรถ เราใช้ iPad แทนพวงมาลัยได้เลยครับ
จากการที่ iPad นั้นทั้งฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการคล้าย iPhone มากนั้น ทำให้นักวิจารณ์คอมพิวเตอร์หลายค่ายออกมาบ่นว่า iPad ก็คือ iPhone ขนาดใหญ่นั่นเอง พูดอีกอย่างก็คือ แทนที่จะบอกว่า iPad เป็น Tablet PC พวกนักวิจารณ์มองว่า iPad คือ iPhone ยักษ์นั่นเอง (บางคนก็ว่า iPod Touch ยักษ์)


แล้วมันจะเป็นอะไรไป ถ้า iPad จะเป็น iPhone เครื่องยักษ์ ก่อนจะเลยไปถึงเรื่องนั้น เรามาดูกันก่อนดีกว่า ว่า iPad ใช้ทำอะไรได้บ้าง

อย่างที่เล่าให้ฟังนะครับว่า iPad เป็น Tablet มีคุณสมบัติหลักๆตามแบบ  iPhone ทีนี้ถ้าเรามาดูความสามารถที่ทางแอปเปิ้ลนำเสนอกันหน่อยว่า iPad นี้ทำอะไรได้บ้าง
การเล่นเว็บไซต์ (Safari)
 พูดง่ายๆก็คือ การเข้าเว็บไซต์ต่างๆนั่นเองครับ แต่ด้วยหน้าจอแบบ Multi Touchscreen คุณก็จะพบกับประสบการณ์การเล่นเว็บที่หน้าทึ่งทีเดียวครับ
การใช้งานอีเมล์ Mail
-Photo ลักษณะคล้ายโปรแกรมจัดการรูปทั่วไปนะครับ(เช่น ACD see) แต่มันพิเศษตรงที่ใช้นิ้ว สองนิ้วซูมเข้าซูมออกได้ครับ ประกอบกับที่รูปมันปรับตามหน้าจอที่เราหมุนเอียงได้

-iPod & Movie ฟังก์ชั่นในการดูหนังฟังเพลงบ้างนะครับ อย่างที่บอกว่าเป็นความสามารถหลักที่รับสืบทอดมาจาก iPhone โดยตรง สำหรับการดูหนัง ก็จะพิเศษหน่อยตรงที่ iPad นั้นรองรับการดูหนังระดับ Hidef 720p ด้วยนะครับ เรียกว่าชัดมาก สีสันสดทีเดียวเลย
ipadipod
-Youtube นอกจากดูหนังฟังเพลง ที่มีอยู่ในเครื่อง iPad เองแล้ว เรายังสามารถใช้ iPad ดูวีดีโอที่ถูกโพสไว้ที่ Youtube ได้อีกด้วย
-iBook ในยุคที่การอ่านเข้าสู่ดิจิตอลแล้ว iPad ก็ได้นำเอาการอ่านหนังสือมาใส่ไว้ในตัวมันด้วยเช่นกัน หนังสือค่ายดังๆในอเมริกาหลายเจ้า ก็จะทำหนังสือดิจิตอลมาสู่คลังหนังสือใน  iBook Store ให้เจ้าของ iPad สามารถซื้อหาหนังสือดิจิตอลในราคาที่ถูกกว่าปกติ นอกจาก iBook จะจำลองการอ่านหนังสือตามปกติแล้ว มันยังเพิ่มคุณค่าโดยใส่วีดีโอ และเสียงลงในหนังสือได้ลงตัวอีกด้วย
ipadibook
-สำหรับการจัดการปฏิทิน และรายชื่อผู้ติดต่อ(contact) ก็สุดแสนน่าประทับใจ ใครที่ติดการใช้งาน Microsoft Outlook คงชอบหน้าตาปฏิทินของ iPad แน่ๆครับ และในรายชื่อผู้ติดต่อ นอกจากระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์แล้ว ยังสามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ในรูปของพิกัดละติจูด ลองจิจูด เพื่อแสดงผลในแผนที่ของ google map ได้ด้วยครับ
-Maps ฟังก์ชั่นนี้น่าจะเป็นที่คุ้นเคยสำหรับทุกท่านนะครับ Google Map ให้บริการด้านแผนที่ออนไลน์มานานแล้ว สำหรับ iPad ที่มีชิป GPS ติดมาด้วยสามารถทำงานเป็น อุปกรณ์นำทาง(Navigator) ได้ด้วยฟังก์ชั่น Maps นี้ครับ
-iWork ฟังก์ชั่นงานเอกสาร Office สำหรับงานด้านเอกสารของ iPad แอปเปิ้ลได้พัฒนาต่อจากโปรแกรมชุด iWork ซึ่งเป็นชุดโปรแกรมงานออฟฟิศแบบเดียวกับ Microsoft Office ที่ใช้งานในคอมพิวเตอร์ Mac โดยพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานแบบ Multi touchscreen ของ iPad และคงชื่อเดิมไว้ว่า iWork ซึ่งมีชุดโปรแกรม

Page(งานพิมพ์เอกสาร)

ipadwrite
Number   (งานสเปรดชีดแบบ เอ็กเซลล์)

 ipadnumber

Keynote (งานนำเสนอแบบเดียวกับ พาวเวอร์พอยต์)


ipadkn



บทบาทของเทคโนโลยี 3G ต่อการศึกษา

ความเป็นมาและความสำคัญ
        ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนต หรือเทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ อันเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลต่างๆ มากมาย  ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กำลังนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 3G มา "ต่อยอด" ไปสู่การขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบ Tele-education หรือการศึกษาทางไกล  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทางไกล โดยผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
           เทคโนโลยี 3G ที่ว่านี้  สามารถประยุกต์ใช้สำหรับการศึกษาทางไกล เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ทั้งเป็นการเอื้อประโยชน์ในการศึกษาต่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการศึกษาของชาติให้มีความหลากหลายทั้งในรูปแบบการเรียนการสอนโดยไม่จำกัดวิธีการ สถานที่ ตลอดจนช่วงเวลาในการเข้าถึงการเรียนการสอนอีกด้วย
           เพื่อการให้ระบบการเรียนการสอนทางไกลเป็นไปได้  และประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่สมดุลกันหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ระบบโครงข่าย วัสดุอุปกรณ์ทั้งต้นทางและปลายทาง การประสานงานระหว่างหน่วยงาน เรื่อยไปจนถึงบุคลากรและเนื้อหาในรูปแบบที่เหมาะสมกับการศึกษาในระบบทางไกลที่สอดคล้องกับสภาวะของประเทศ  จึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปเกี่ยวกับเทคโนโลยี 3G ทั้งด้านดีและด้านเสีย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษา


ความหมายของเทคโนโลยี 3G
            3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต
        3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และการส่งข้อมูลในขั้นต้น  ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก  การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
        ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และสมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่, ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ
        จะเห็นว่า 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบาย  และคล่องตัวขึ้น โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา,วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลในaccount ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น ตรวจสอบค่าใช้บริการ, แก้ไขข้อมูลส่วนตัวและ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์,ข่าวบันเทิง,ข้อมูลด้านการเงิน,ข้อมูลการท่องเที่ยว และตารางนัดหมายส่วนตัว เป็นต้น

คุณสมบัติหลักของ 3G คือ
            เทคโนโลยี 3G ช่วยทำให้การ Online ทุกที่ทุกเวลาด้วยระดับคุณภาพบริการ Hi-speed เป็นไปได้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น ด้วยคุณสมบัติหลัก ดังนี้
            1. มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครือข่าย 3G ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องโทรศัพท์ (Always On)
           2. การคิดค่าบริการจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น  แตกต่างกับระบบทั่วไปที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่ Login เข้าในระบบเครือข่าย
            3. อุปกรณ์สื่อสารไร้สายมีรูปแบบอื่นๆ Plamtop, PDA, Laptop และ PC
            4. รับส่งข้อมูลในความเร็วสูงรวดเร็ว ทำให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก แสดงแผนที่ตั้ง เป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด

ประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G (ข้อดี)
        เทคโนโลยี 3G สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายสร้าง่ความเท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งความรู้ รวมทั้งประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่างๆ เช่น ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ เพราะใช้สื่ออิเล็คทรอนิคแทนกระดาษ สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา สร้างความใกล้ชิดระหว่างบุคคลมากขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวด้วยการสนทนาแบบเห็นหน้า ทั้งยังได้ลดภาวะโลกร้อน ลดการเดินทางโดยไม่จำเป็นทำให้กระบวนการต่างๆ เร็วขึ้น  ประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยี 3G สรุปโดยย่อๆ คือ
        1. เกิดความสะดวกสบาย

        2. ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
        3. สร้างความบันเทิง

โทษของเทคโนโลยี 3G (ข้อเสีย)
       เทคโนโลยี 3G เป็นเครือข่ายที่ใหญ่มาก มีบุคคลทุกเพศทุกวัยแทบทุกอาชีพที่ใช้งาน ข้อมูลที่สามารถใช้ได้กับบุคคลวัยหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมกับบุคคลอีกวัยหนึ่ง โดยเฉพาะเด็กเยาวชน ภัยที่เกิดจากการติดต่อกับคนแปลกหน้า ซึ่งมีเจตนาที่จะหลอกลวงหรือต้องการข้อมูลส่วนตัวของเรา ผลเสียหรือโทษของ 3G  สรุปได้ย่อๆ คือ
        1. ทำให้เกิดปัญหาติดเกมส์
        2. ทำให้เกิดปัญหาติดโทรศัพท์
        3. ทำให้สื่อลามกอนาจาร การพนัน เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่าย
        4. เป็นช่องทางของมิจฉาชีพ ล่อลวง ลักพาตัวจากการ chat
        5. ทำให้เกิดการใช้ภาษาผิดๆ ได้จากการเล่นพูดคุยผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์

บทบาทเทคโนโลยี 3G ต่อการศึกษา
        เทคโนโลยี 3G มีบทบาทอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหลายประการ ดังเห็นได้ชัด คือ การเรียนการสอนผ่าน video conference ประหยัดการเดินทางค่าอาหารนอกบ้าน  การเรียนรู้ผ่าน video clip ลดค่าใช้จ่าย การเรียนเพิ่มการเข้าถึงแหล่งความรู้อย่างเท่าเทียม การเรียนรู้ผ่านศูนย์การเรียนรู้กลาง ผ่านเว็บไซต์ และอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่จะประยุกต์ใช้

สรุป
      จากการศึกษาถึงที่มาและความสำคัญต่างๆ ของเทคโนโลยี 3G ทำให้ทราบถึงบทบาทของเทคโนโลยี 3G ในหลายมุมมองซึ่งที่มีทั้งคุณประโยชน์และโทษต่อผู้บริโภค  อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทุกอย่างล้วนสร้างขึ้นมาเพื่อหวังจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั้งนั้น แต่จะเกิดประโยชน์มากหรือโทษมากก็ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นั่นเอง  ซึ่งบางคนก็นำมาใช้ได้เกิดประโยชน์ บางคนก็ใช้อย่างผิดรูปแบบ เช่น เป็นสื่อลามก อนาจาร ก็ทำให้เกิดผลเสียได้

        ดังนั้น ควรจะใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อไม่ทำลายทรัพยากรบุคคลของชาติ และเพื่อไม่ล้าหลังด้านเทคโนโลยี เราควรผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีกับการศึกษาพร้อมทั้งความเป็นไทยให้ลงตัวเพื่อก้าวสู่โลกอนาคตแบบอารยชน

******************
เศรษฐกิจพอเพียง

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
                        ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
                   ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
                   แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
                        “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                   ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
                        โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

พระราชดำรัสที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

 “...ไฟดับถ้ามีความจำเป็น หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ เรามีเครื่องปั่นไฟก็ใช้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกัน แลกเปลี่ยนกัน ก็ไม่ใช่พอเพียงแล้ว แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

 การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

ตัวอย่างเศรษฐกิจหลักการและแนวทางสำคัญ
๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ “ลงแขก” แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานด้วย
๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ดังนั้น หากตั้งสมมติฐานว่า มีพื้นที่ ๕ ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลง ประกอบด้วย
                        - นาข้าว ๕ ไร่
                        - พืชไร่ พืชสวน ๕ ไร่
                        - สระน้ำ ๓ ไร่ ขุดลึก ๔ เมตร จุน้ำได้ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
                        - ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ๒ ไร่
                        รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่
                        แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้
                        - ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
                        - ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึก หรือตื้น และแคบ หรือกว้างก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะสามารถมีน้ำมาเติมอยู่เรื่อยๆ
                        การมีสระเก็บน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดี มีระบบน้ำหมุนเวียนใช้เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้หมายความว่า เกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บน้ำไม่พอ ในกรณีมีเขื่อนอยู่บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงให้เกษตรกรใช้น้ำที่เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อจะได้มีผลผลิตอื่นๆ ไว้บริโภคและสามารถนำไปขายได้ตลอดทั้งปี
                        ๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ เป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย) บนสระอาจสร้างเล้าไก่และบนขอบสระน้ำอาจปลูกไม้ยืนต้นที่ไม่ใช้น้ำมากโดยรอบได้
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สอง ทำนา
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเชื้อฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
                                    ร้อยละ ๑๐ สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ทางเดิน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตร หรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝน และสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อ หรือสระเก็บน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโชน์อื่นต่อไปได้
                        ๕. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น เกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย และที่สำคัญ คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดสระน้ำ เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากส่วนราชการ มูลนิธิ และเอกชน
                        ๖. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดี ควรนำไปกองไว้ต่างหากเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี หรืออาจนำมาถมทำขอบสระน้ำ หรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผลก็จะได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง
            ตัวอย่างพืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง
ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน ฯลฯ
ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไท บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค์ มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้ และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ ได้แก่ ข้าวโพด ถัวเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง
พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียวและถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้
หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี ควรเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน ให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ เช่น ไม่ควรปลูกยูคาลิปตัสบริเวณขอบสระ ควรเป็นไม้ผลแทน เป็นต้น

สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้แก่
                        สัตว์น้ำ : ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้
                        สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้ มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้
            ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
๒. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
๔. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
พอเพียง

   ทฤษฎีใหม่
ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
                   ความเสี่ยงที่เกษตรกร มักพบเป็นประจำ ประกอบด้วย
๑. ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร
๒. ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ
๓. ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง
๔. ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด
๕. ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต
- ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช
- ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน
- ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน
ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 ทฤษฎีใหม่
            ความสำคัญของทฤษฎีใหม่
๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
๒. มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
                        ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง
                        พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ
                        พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
                        พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
                        พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ
            ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
                        เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
                        (๑) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
                        - เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่ม ตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่นๆ เพื่อการเพาะปลูก
                        (๒) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
                        - เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
                        (๓) การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
                        - ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
                        (๔) สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
                        - แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
                        (๕) การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
                        - ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชมชนเอง
                        (๖) สังคมและศาสนา
                        - ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
                        โดยกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
                        เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
                        ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
                        - เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
                        - ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
                        - เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)
                        - ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
หลักการและแนวทางสำคัญ

๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ “ลงแขก” แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานด้วย
๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ดังนั้น หากตั้งสมมติฐานว่า มีพื้นที่ ๕ ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลง ประกอบด้วย
                        - นาข้าว ๕ ไร่
                        - พืชไร่ พืชสวน ๕ ไร่
                        - สระน้ำ ๓ ไร่ ขุดลึก ๔ เมตร จุน้ำได้ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
                        - ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ๒ ไร่
                        รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่
                        แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้
                        - ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
                        - ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึก หรือตื้น และแคบ หรือกว้างก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะสามารถมีน้ำมาเติมอยู่เรื่อยๆ
                        การมีสระเก็บน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดี มีระบบน้ำหมุนเวียนใช้เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้หมายความว่า เกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บน้ำไม่พอ ในกรณีมีเขื่อนอยู่บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงให้เกษตรกรใช้น้ำที่เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อจะได้มีผลผลิตอื่นๆ ไว้บริโภคและสามารถนำไปขายได้ตลอดทั้งปี
                        ๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ เป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย) บนสระอาจสร้างเล้าไก่และบนขอบสระน้ำอาจปลูกไม้ยืนต้นที่ไม่ใช้น้ำมากโดยรอบได้
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สอง ทำนา
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเชื้อฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
                                    ร้อยละ ๑๐ สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ทางเดิน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตร หรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝน และสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อ หรือสระเก็บน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโชน์อื่นต่อไปได้
                        ๕. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น เกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย และที่สำคัญ คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดสระน้ำ เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากส่วนราชการ มูลนิธิ และเอกชน
                        ๖. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดี ควรนำไปกองไว้ต่างหากเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี หรืออาจนำมาถมทำขอบสระน้ำ หรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผลก็จะได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง
            ตัวอย่างพืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง
ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน ฯลฯ
ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไท บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค์ มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้ และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ ได้แก่ ข้าวโพด ถัวเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง
พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียวและถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้
หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี ควรเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน ให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ เช่น ไม่ควรปลูกยูคาลิปตัสบริเวณขอบสระ ควรเป็นไม้ผลแทน เป็นต้น

สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้แก่
                        สัตว์น้ำ : ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้
                        สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้ มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้
            ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
๒. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
๔. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

ข้าวหอมมะลิ (Thai Hom Mali Rice)

เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ลักษณะข้าวเปลือกเรียวยาว เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็นเงา แกร่ง มีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก

แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของไทย

ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตทุ่งกุลาร้องไห้) และมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมกว่า 19 ล้านไร่ทั่วประเทศ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด รองลงมาคือภาคเหนือ เนื่องจากสภาพดินฟ้า-อากาศและพื้นที่เพาะปลูกของทั้งสองภาคคล้ายคลึงกัน เหมาะแก่การเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ กล่าวคือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ชาวนาจะเริ่มหว่านไถ ในเดือนมิถุนายน และเพาะปลูกอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เมื่อฝนเริ่มหมด ปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนความชื้นจะน้อยเพราะเป็นช่วงที่ลมหนาวจากเมืองจีนเริ่มพัดเข้ามาในสองภาคนี้ ทำให้อากาศแห้งเหมาะในการเก็บเกี่ยว การตาก การนวด ก็ทำได้ง่าย เพราะน้ำแห้งนาหมดแล้ว ไม่มีฝน จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ สำหรับการปลูกข้าวหอมจะทำกันได้ดีเฉพาะที่ที่เป็นนาดอนเสียเป็นส่วนใหญ่

คุณสมบัติของข้าวหอมมะลิ


ข้าวหอมมะลิที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15 ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่ การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาข้าวเปลือกการสีข้าว และการเก็บรักษาข้าวที่สีเรียบร้อยแล้วการจะรักษาความหอมของข้าวเอาไว้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงภาวะแวดล้อมที่ร้อน อบอ้าว และมีความชื้นสูง การตากแดดหรือใกล้สถานที่ร้อนจัดเป็นเวลานานๆ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งสภาวะที่เหมาะสมคือที่ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น มีการถ่ายเทของอากาศดี ความชื้นไม่สูง
ข้าวหอมใหม่ (NEW CROP) หมายถึงข้าวหอมที่พึ่งเก็บเกี่ยวมาได้สักระยะหนึ่ง และมีการดูแลรักษาอย่างดี ก่อนที่จะนำมาบริโภค ข้าวหอมใหม่จะให้ความหอมขณะหุงต้ม ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากข้าวชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ข้าวหอมที่หุงแล้ว ยังมีลักษณะนุ่มเหนียว มียาง เกาะตัวกันพอสมควร มีรสชาติอร่อย
ข้าวหอมที่เก็บไว้นานขึ้น (ข้าวเก่า) คือ ข้าวที่เก็บเกี่ยวมาแล้วเก็บไว้เป็นเวลานาน 5-6 เดือนขึ้นไป ความหอมจะเจือจางลง รวมทั้งความนุ่มเหนียวลดลงด้วย เมื่อนำข้าวหอมนี้มาหุงจะต้องใช้ปริมาณน้ำมากขึ้นกว่าข้าวใหม่ ถึงแม้ความหอมจะลดน้อยลงไปแต่ยังคงมีรสชาติอร่อยเหมือนเดิม 



ประเภทของข้าวหอมมะลิ

กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าต่างประเทศ) ได้แบ่งประเภทของ ข้าวหอมมะลิไทย ออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวขาว (8 ชนิด) และข้าวกล้อง ( 6 ชนิด)
  • ข้าวขาวแบ่งออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้
    1. ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
    2. ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 (มีปริมาณส่งออกมากที่สุด)
    3. ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
    4. ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์
    5. ข้าวขาว 10 เปอร์เซ็นต์
    6. ข้าวขาว 15 เปอร์เซ็นต์
    7. ข้าวขาวหักเอวันเลิศพิเศษ
    8. ข้าวขาวหักเอวันเลิศ


     
  • ข้าวกล้องแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้
    1. ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
    2. ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2
    3. ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
    4. ข้าวกล้อง 5 เปอร์เซ็นต์
    5. ข้าวกล้อง 10 เปอร์เซ็นต์
    6. ข้าวกล้อง 15 เปอร์เซ็นต์

ข้าวหอมมะลิแท้-ดูอย่างไร

วิธีการตรวจความเป็นข้าวหอมมะลิ

การตรวจสอบที่สามารถยืนยันว่าเป็นข้าวหอมมะลิแท้หรือไม่นั้น ปัจจุบันมีเพียงวิธีเดียว คือ การตรวจสายพันธุกรรม (DNA) ซึ่งมีสถาบันที่สามารถตรวจสอบได้อยู่น้อย* มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบค่อนข้างสูง และต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพอสมควร นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการบ่งชี้หาความเป็นข้าวหอมมะลิ คือ วิธีการตรวจทางกายภาพ
* สถาบันตรวจสอบเอกลักษณ์พันธุกรรม ข้าวหอมมะลิ (DNA)
1. สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. ศูนย์ปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

วิธีการตรวจลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกหอมทางกายภาพ

พิจารณาจาก ลักษณะสีของเปลือก ขนาดรูปทรงของเมล็ดข้าวเปลือก ลักษณะพิเศษที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่บ่งชี้ว่าเป็นข้าวหอมอะไร (ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญ) เช่น
- ข้าวหอมมะลิ 105 มีจุกหางแยกออกชัดเจน
- ข้าวหอมมะลิ กข.15 ที่จุกหางมีลักษณะงอนขึ้นมากกว่า และเมล็ดจะกว้างกว่า
- ข้าวปทุมธานี 105 จะมีลักษณะคล้ายกับ หอมมะลิ 105 ต่างกันที่จุกหางจะแยกน้อยกว่า

วิธีการตรวจลักษณะเมล็ดข้าวสารหอมที่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกและรำ ออกแล้ว

- การตรวจทางกายภาพ (มีมาตรฐานกำหนด) พิจารณาจาก ลักษณะรูปทรงของเมล็ดข้าวขนาดความยาวของเมล็ดข้าวและความยาวเฉลี่ย ต่อความกว้างของเมล็ด ลักษณะพิเศษ ที่บ่งชี้ว่าเป็นข้าวหอมอะไร และวิธีตรวจสอบเมล็ดข้าวสุกที่ต้มในน้ำเดือด
- การตรวจทางเคมี คือ การทดสอบหาปริมาณอมิโรส การทดสอบหาปริมาณข้าวเจ้าอื่นที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทยปน โดยการหาค่าการสลายเมล็ดข้าวในด่าง หรือการย้อมสี และการทดสอบความสดของข้าว