ภาพถ่าย

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

  
ภัยทางอินเทอร์เน็ต

 ภัยทางอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
    1. ภัยที่เกิดกับบุคคล 2. ภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ
               ภัยที่เกิดกับบุคคล
ภัยที่เกิดกับบุคคลมักเกิดจากการหลอกลวง การกลั่นแกล้ง โดยผลที่ได้รับอาจจะทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายเกิดความอาย เสียเงิน จนถึงขั้นเสียชีวิต ดั้งนั้นควรระมัดระวังในการใช้งาน
ตัวอย่างภัยที่เกิดกับบุคคล
    1. การกลั่นแกล้งโดยผ่านทาง Webboard เช่น  นาย ก. มีความเกลียดชังนาย ข. จึงไปเขียนลงบน Webboard โดยกล่าวร้ายกับนาย ข. จึงทำให้นาย ข. เกิดความอับอาย  
    2. การหลอกลวงผ่านทางโฆษณาขายสินค้าด้วยวิธีการประมูล โดยผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลต้องลงทะเบียนสมาชิกของเว็บไซต์ หลังจากนั้นผู้ซื้อจะต้องเสนอราคาซื้อแข่งขันกับผู้ซื้อรายอื่น เมื่อเสร็จสิ้นการประมูลถือว่ามีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประมูลและผู้เสนอขาย ในรายงานพบว่าเป็นการหลอกลวงมีหลายรูปแบบ เช่น ผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้าเพราะไม่มีสินค้าอยู่จริง การปั่นราคาสินค้าสูงกว่าปกติ  3.การชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต มีทั้งฝ่ายผู้ซื้อหลอกลวงผู้ขาย และผู้ขายหลอกลวงผู้ซื้อ เช่น ผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าเมื่อมีการตัดบัตรเครดิต หรือการหลอกขายสินค้าแล้วขอเบอร์บัตรเครดิต และรหัสแล้วนำไปทำบัตรปลอมเพื่อซื้อสินค้าอีกต่อ  4. การล่อลวงไปกระทำมิดีมิร้ายกับผู้หญิง เช่นล่วงละเมิดทางเพศ ดังที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ส่วนมากจะมาในรูปแบบของการใช้งานโปรแกรม Chartroom ต่างๆ 5. เด็กที่เข้าเว็บที่มีการเสนอในทางรุ่นแรงอาจทำให้เด็กมีนิสัยชอบความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ
    1. การปล่อยโปรแกรม Virus มาทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับ Virus จะเกิดอาการใช้งานไม่ปกติ หรือบางอย่างอาจจะลบข้อมูลทั้งหมด ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มีผู้เขียน เขียนขึ้นมาเพื่อขัดขวางการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้เสมือนว่าใช้งานกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้ จนกระทั่งทำลายแฟ้มข้อมูล หรือทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติไปจากเดิม ส่วนการติดไวรัสอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะทาง Internet นั่นแหละแหล่งรวมไวรัส 2. ใช้วิธีการเข้าควบคุมโมเ ด็มของบุคคลอื่น เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส หลังจากที่เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วไวรัสกำหนดคำสั่งให้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตใหม่อีกครั้ง แต่คราวนี้จะเป็นการเชื่อมโยงไปยังคู่สายที่อยู่เมืองนอก ดังนั้นการเสียค่าโทรศัพท์จะต้องเสียในอัตราโทรต่างประเทศ 3. Trojan Horse เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมทั่วไป  เพื่อหลอกผู้ใช้ให้ทำการเรียกใช้งาน เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้ทันที
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจัน เพื่อที่จะล้วงความลับของระบบคอมพิวเตอร์บุคคลอื่น ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้น
                      การป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต
การป้องกันภัยที่เกิดกับบุคคล
    1. ไม่ควรสนทนา (Chart) กับบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก หรือไว้ใจได้ 2. ไม่ควรใส่ชื่อที่อยู่จริงกับเว็บที่ไม่น่าไว้ใจ 3. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ 4. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนกับเว็บต่างๆ เพราะท่านอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองท่านอยู่   5. จงคิดไว้เสมอว่า ไม่มีใครยอมเสียผลประโยชน์ ถ้าไม่ได้อะไรตอบแทน 6. ทุกครั้งที่คนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำ ธุระกรรมผ่านทางเว็บจงคิดเสมอว่า รายได้ที่สูงเกินความจริงอาจตกอยู่กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย 7. การไปพบปะกับบุคคลที่ติดต่อผ่านทางเว็บไม่ควรไปอยู่ในที่ลับตา ควรอยู่ในที่รโหฐาน 8. ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้ลูกเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง 9. การตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับลูกควรอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง เช่นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน 10. เมื่อเห็นบุคคลที่อยู่ไกล้ตัวท่านมีลักษณะการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปควรรีบเสาะหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อป้องกับเหตุร้ายที่จะตามมา
                      การป้องกันภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์
    1. ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรี ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ ว่ามีไวรัสหรือไม่ โดยใช้โปรแกรมประเภท สแกนไว้รัส 2. ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3. เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น 4. ควรสำรองข้อมูลไว้เพื่อเกิดความเสียหายจะได้มีไฟล์สำรองทุกครั้ง   5. พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ 6. ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect) หรือถ้าจำเป็นต้องเปิด ควรมีการ สแกนไว้รัสก่อนใช้งานทุกครั้ง 7. ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด 8. ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด 9. ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ ๆ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีขึ้นมาก 10. เมื่อมีการติดตั้ง โปรแกรม ป้องกันไวรัสแล้วมิได้จบเพียงแคนั้น ควรจะมีการ Update ไวรัสบ่อยๆ เพราะทุกๆ วันจะมีการสร้างไวรัสใหม่เสมอ 11. หมั่นติดตามข่าวด้าน Information Security และข่าวไวรัสใหม่ๆ ตลอดจนหมั่น Update Patch ให้กับระบบที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ   12. หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ถ้าไม่รู้แหล่งที่มาของ อี-เมล์

ที่มา; http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/page03_2.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น